Thursday, August 6, 2015

ไขข้อข้องใจ DAS, NAS, SAN

ไขข้อข้องใจ DAS, NAS, SAN ทำงานอย่างไร? เหมือน/ต่างกันอย่างไร? ตัวไหนเหมาะกับการใช้งานใดบ้าง?

เทคโนโลยี storage ในระดับธุรกิจ ตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็ก จนถึง ธุรกิจขนาดใหญ่ มีความต้องการในการใช้ storage เพื่อเก็บข้อมูลในขนาดที่ไม่เท่ากัน ซึ่งในปัจจุบัน มีด้วยกันอยู่ 3 แบบหลักๆ คือ


The main concept drawing of DAS, NAS, SAN.
DAS vs NAS vs SAN ภาพจาก e-waysecurity.ma

1. DAS หรือ Direct Attach Storage 

DAS คือ การต่อพ่วง external storage เข้าไปกับ file server โดยตรง

ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไป ในกรณีที่บริษัท ใช้ server ทั่วไปในการเก็บข้อมูล จนกระทั่งพื้นที่ความจุไม่พอ เราก็จะต่อพ่วง external storage เข้าไปเรื่อยๆ เพื่อรองรับความต้องการในการเก็บข้อมูลที่เพิ่มขึ้น

วิธีนี้จะสะดวกในกรณีที่มี server เพียงเครื่องเดียว แต่หากมี server หลายเครื่องที่ต้องการใช้งาน external storage ที่อยู่อีกเครื่องหนึ่ง จะเริ่มเกิความยุ่งยากขึ้นมา อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการสูญเสียไฟล์เพราะไม่มีระบบ backup ไว้อีกด้วย

2. NAS หรือ Network Attach Storage

NAS คือ การนำเอา external storage มาต่อเข้ากับ network (แทนที่จะต่อเข้า file server โดยตรง)

ซึ่งวิธีนี้จะทำ file server หรือ client ทุกๆเครื่อง สามารถเข้าใช้ไฟล์ใน external storage ได้ง่ายขึ้นเพียงแค่เชื่อมต่อเข้า network เดียวกันเท่านั้น อีกทั้งยังเพิ่มความทนทานของข้อมูลด้วยการต่อพ่วง harddisk ด้วยหลักการต่อแบบ RAID 

แต่ปัญหาใหญ่ที่สุดของระบบนี้คือ อัตราการเขียน/อ่านข้อมูลจะลดลงถ้ามีผู้ใช้จำนวนมากๆ

จากข้อเสียของข้างต้น จึงกำเนิดระบบที่เรียกว่า SAN (Storage Area Network)

3. SAN หรือ Storage Area Network 

SAN คือ "ระบบ" ที่คอย จัดการไฟล์ที่ผู้ใช้โยนเข้ามากใน SAN จากนั้น SAN จะบริหารจัดการตำแหน่งที่จะนำไฟล์ไปเก็บใน storage disk เอง โดยผู้ใช้จะเห็น SAN เป็น drive หนึ่งใน my computer

มักถูกออกแบบมาในรูปแบบของตู้ rack ทำให้ผู้ใช้งานสามารถต่างคนต่างใช้ไฟล์ของตัวเองได้โดยผ่าน storage ประสิทธิภาพสูงในเครือข่ายเดียวกัน